•.¸¸.•´´¯`••._.•.. M¥ ฿₤ǿĜ ..•.¸¸.•´´¯`••._.• ll ..>>>>>>>>>> Wellcome<<<<<<<<<<..^O^ ✖

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีฝึกภาษาอังกฤษผ่านการฟังเพลงสากล (How to improve your English by listening to music)

วิธีการฝึกภาษาอังกฤษผ่านการฟังเพลง


1. ฟังเพลงโดยไม่ดูเนื้อร้องสักสองสามรอบ แล้วพยายามจับประโยคเนื้อร้องภาษาอังกฤษนั้นให้ได้มากที่สุด
2. ร้องเพลงตามเนื้อร้องหลายๆรอบ จนมั่นใจว่าเราจำเนื้อร้องภาษาอังกฤษท่อนต่างๆนั้นได้แล้ว
3. ฝึกร้องเพลงโดยไม่อ่านเนื้อร้อง หากยังจำเนื้อร้องภาษาอังกฤษไม่ได้ให้ย้อนกลับไปดูเนื้อร้องอีกครั้งหนึ่ง
สิ่งที่แนะนำให้ทำควบคู่ไปด้วยเพื่อการฝึกภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ

    • เขียนเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษออกมาให้ได้มากที่สุดพร้อมไปกับการฟังเพลงนั้นในครั้งแรก โดยอาจจะให้โอกาสตัวเอง 2-3 ครั้ง เพื่อดูว่าเราจับใจความไหนได้บ้าง และเพื่อที่จะได้วิเคราะห์ได้ว่า เหตุใดเราถึงจับประโยคเหล่านั้นไม่ได้

    • แปลเนื้อร้องทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมีความหมายถูกต้อง 100% แต่ขอให้แปลแบบที่เราสามารถเข้าใจได้และความหมายไม่เพี้ยนก็พอ และหากเจอศัพท์ที่เราไม่คุ้นเคย ก็ให้ลองค้นหาความหมายของคำนั้นจาก dictionary

    • ดูโครงสร้างประโยคต่างๆที่ใช้ในเนื้อเพลง หากต้องการฝึกการสร้างประโยคภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆ เราสามารถที่จะไล่ดูทีละประโยคในเนื้อร้องว่า มีการใช้รูปแบบประโยคอย่างไร เช่น If I were a boy even just for a day, I'd roll out of bed in morning เป็นประโยคที่มาจากโครงสร้าง If + Past Simple, would + V.1 เป็นต้น
หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนมีความสุขไปกับการฝึกภาษาอังกฤษนะครับ ยังไงๆก็อย่าลืมเลือกใช้เพลงที่เราชอบนะครับ เพราะกว่าเราจะแกะเนื้อร้องภาษาอ้งกฤษออกได้ เราอาจจะต้องฟังเพลงนั้นไปจนเบื่อเลยก็ว่าได้ โชคดีครับ 

การแนะนําตัวเป็นภาษาอังกฤษ

 
Non-formal way (ไม่เป็นทางการ) เราอาจจะพูดเพียงแค่คำว่า “Hello” หรือ “Hi” ตามด้วยการแนะนำตัวเอง เช่น “Hi, my name is Jew.” โดยอีกฝ่ายมักจะตอบกลับโดยระบุชื่อเรา เช่น “Hi, Jew. I’m Sarah.”หรือ อาจจะพูดว่า “Hello, Jew! Pleasure to meet you.” ก็ได้ ตามด้วยการเริ่มบทสนทนา โดยอาจเริ่มต้นด้วยการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบต่างๆ เช่น “How are you today?” และอื่นๆ
 
*หากเราต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้เป็นแบบกันเอง โดยไม่อยากที่จะใช้ชื่อจริงคุยกัน ก็อาจจะแนะนำชื่อเล่นของเราไปเลย หรือ อาจจะใช้วิธีการแนะนำชื่อจริงแล้วตามด้วยชื่อเล่นของเราก็ได้ เช่น “Hi, my name is Jew, but you can call me Dek-Eng.” หรือ อาจจะพูดว่า "Hi, my name is Jew, but all my friends all call me Dek-Eng."
 
Formal way (ทางการ) ในการแนะนำตัวแบบเป็นทางการนั้น เราจะต้องใช้ประโยคทำความรู้จัก แนะนำชื่อ และ ตามด้วยการแนะนำตัวสั้นๆว่าเราเป็นใคร หรือ มาจากไหน
 
"May I / I'd like to introduce myself. I'm Jew, from Dek-Eng.com."

“Nice to meet you. My name is Jew, from Dek-Eng.com.”

หรือ “My name is Jew, from Dek-Eng.com. Nice to meet you.”
 
*สำหรับการแนะนำตัวส่วนใหญ่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบ Formal หรือ Non-formal ก็มักจะควบคู่ไปกับการจับมือทักทายกัน หรือ การทักทายตามวัฒนธรรมต่างๆ เสมอ ซึ่งเพื่อนๆสามารถศึกษาต่อได้ใน ….
 
ประโยคแนะนำตัวที่เรานิยมใช้กันในชีวิตประจำวัน ได้แก่

(It’s) Nice/Good/Great to meet you.
(It’s) Nice/Good/Great to see you.
(I’m) Pleased to meet you
It’s a pleasure to meet you
(I'm) Delighted to meet you
(I’m) Glad to meet you
(It’s) Nice to meet you / (It’s) Nice meeting you
How do you do?
 
ประโยคที่ใช้ในการทักทายตอบ ได้แก่

Nice/Good/Great to meet you too.
The pleasure is mine
Pleasure / My pleasure
Likewise
Same here
Same to you
Same
You too (ใช้ตอบประโยคทักทายที่ใช้ It’s…to meet you)
Me too (ใช้ตอบประโยคทักทายที่ใช้ I’m…to meet you)
 
ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเลือกใช้ประโยคเหล่านี้ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ หรือ ผู้สนทนาด้วย
ส่วนใครที่มีคำถามว่า จะพูดอย่างไรเพื่อกล่าวคำลา สำหรับการกล่าวคำลานั้น เรามักจะเน้นอีกครั้งถึง ความรู้สึกยินดีที่ได้รู้จักกับผู้สนทนา เช่น

It was a pleasure to (meet/have met) you
It was nice meeting you. I look forward to our next meeting.
It was nice to meet you. We’ll be in touch.
Nice meeting you. I hope to see you soon